Pink Bobblehead Bunny

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

Diary No. 3

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )

อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤณ แจ่มถินวัน-เดือน-ปี 27-1-2559

เรียนครั้งที่  3  เวลาเรียน 08.30.- 12.30 น.



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

     1. กลุ่มเด็กที่มีลักษะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"


เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
  • เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญา
  • มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
  • พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
  • เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
  • อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
  • มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
  • จดจำได้รวดเร็วแม่นยำ
  • มีความรู้ ใช้คำศัพท์เกินวัย
  • มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลก ๆ 
  • เป็น้คนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
  • มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน
  • ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
เด็กฉลาด
  • ตอบคำถาม
  • สนใจเรื่องที่ครูสนอ
  • ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน
  • ความจำดี
  • เรียนรู้ง่ายและเร็ว
  • เป็นผู้ฟังที่ดี
  • พอใจในผลงานของตน
Gifted
  • ตั้งคำถาม
  • เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
  • ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
  • อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
  • เบื่อง่าย
  • ชอบเล่า
  • ติเตียนผลงานของตน



     2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
  1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
  4. เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  5. เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
  6. เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  7. เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
  8. เด็กออทิสตก
  9. เด็กพิการซ้อน
เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
     หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และ เด็กปัญญาอ่อน

เด็กเรียนช้า
  • สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
  • เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
  • ขาดทักษะในการเรียนรู้
  • มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
  • มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนช้า

     1. ภายนอก 
  • เศรษฐกิจของครอบครัว
  • การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
  • สภาะวะทางด้านอารณ์ของคนในครอบครัว
  • การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
  • วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
     2. ภายใน
  • พัฒนาการช้า
  • การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน


  • ระดับสติปัญญาต่ำ
  • พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
  • มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง 
  • อาการแสดงก่อนอายุ 18
พฤติกรรมการปรับตน
  • การสื่อความหมาย
  • การดูแลตนเอง
  • การดำรงชีวิตภายในบ้าน
  • การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
  • การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
  • การควบคุมตนเอง
  • การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • การใช้เวลาว่าง
  • การทำงาน 
  • การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น
เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
     1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
  • ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
  • ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
  • แขนขาลีบ
     2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 C.M.R
  • ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้อต้นง่าย ๆ 
  • กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า  C.M.R (Custodial Mental Retardation)
     3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49 T.M.R
  • พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
  • สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
  • เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
     4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 E.M.R
  • เรียนในระดับประถมศึกษาได้
  • สามารถฝึกอีพและงานง่าย ๆ ได้
  • เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
  • ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  • ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงว่าย รอคอยไมม่ได้
  • ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผลงอวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


ดาวน์ซินโดรม 

Down Syndrome



สาเหตุ
  • ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21
  • ที่พบบ่อยคือโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 21 )

อาการดาวน์ซินโดรม 
  • ศีรษะเล็กและเบน คอสั้น
  • หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
  • ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
  • ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
  • เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
  • ช่องปากแคบ ลื้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
  • มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
  • เส้นลายมือตัดขวง นิ้วก้อยโค้งงอ
  • ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่ 1 และ 2 กว้าง
  • มีความผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
  • บกพร่องทางสิตปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย ร่าเริง เป็นมิตร
  • มีปัญหาในการใช้ภาาษาและการพูด
  • อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
  • เป็นหมันในเพศชาย
  • ผู้หญิงสามารถท้องได้


การตรวจวินิจฉัยก่อนกลุ่มอาการดาวน์
  • การเจาะเลือของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • อัลตราซาวด์
  • การตัดชิ้นเนื้อรก
  • การเจาะน้ำคร่ำ

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มดาวน์วัยทารก



Part 1





Part 2




Part 3







เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน 

(Children with Hearing Impaired)



     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก

เด็กหูตึง
     หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม

     1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงที่ไกล ๆ 
     2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ตั้งใจในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
  • จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
  • มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไมัด ออกเสียงเพี้ยน
  • พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
     3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
  • เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
  • เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
  • มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
  • มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
  • พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยง บางคนไม่พูด
    4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
  • เด้กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
  • ได้ยินเฉพาะเสียงดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต
  • การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง 
  • เด็กจะมีปัญาในการแยกเสียง
  • เด็กมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูหนวก
  • เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
  • เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
  • ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
  • ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
ลักษะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  • พูด้วยเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำหรือด้วยเสียงที่ดังเกิดความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าที่เด๋อเมื่อมีการพูดด้วย
เครื่องช่วยฟัง




เด็กที่บกพร่องทางการมองเห็น (Children with Visual Impairments)


  • เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
  • มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองช้าง
  • สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1-10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้าไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

เด็กตาบอด


  • เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
  •  ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
  • มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60, 20-200 ลงมาถึงจนบอดสนิท
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
* คนปกติจะมีลานสายตา 160 องศา ที่จะมองเห็นได้

เด็กตาบอดไม่สนิท


  • เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
  • สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
  • เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20-60, 6/60 ,20-200 หรือน้อยกว่านั้น
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
  • เดินงุ่มง่าม ซนและสะดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
  • กัมศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  • ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต


ความรู้ที่ได้รับ
  • ได้รับความรู้ในเรื่องของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กปัญญาเลิศ เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีความบกพร่องในลักษณะต่าง ๆ เด็กตาบอด เด็กตาบอดไม่สนิท เด็กหูตึง เด็กหูหนวก
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนโดยรวมมีความตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าสอนเต็มเวลา มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาดูเพื่อให้เข้าใจง่าย มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

Diary No. 2

วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )

อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤณ แจ่มถิน วัน-เดือน-ปี 20-1-2559

เรียนครั้งที่  2  เวลาเรียน 08.30.- 12.30 น.


เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ความหมายของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

     1. ทางการแพทย์     มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ"

หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจะเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
     2. ทางการศึกษา     
หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

     สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
  • เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
  • มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
  • จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
  • จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่าง ๆ รวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยเช่นกัน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
  • ปัจจัยด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

     1.พันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย เช่น Cleft Lip/Cleft Palate (ปากแหว่งเพดานโหว่), Albinism (เผือก), Neurofibromatosis (ท้าวแสนปม)
     2. โรคของระบบประสาท 
  • เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนกาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
  • ที่พบบ่อยคืออาการชัก
     3. การติดเชื้อ
  • การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
  • นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
     4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณะสุขไทย คือ ไทยรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
     5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
  • การเกิดการกำหนด หน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
     6. สารเคมี
  • ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
  • มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุด ๆ 
  • ภาวะตับเป็นพิษ
  • ระดับสติปัญญาต่ำ
     แอลกอฮอล์
  • มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย
  • มีอัตาการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
  • พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
  • เด็กบกพร่งทางพฤติกรรมและอารมณ์
เช่น Fetal alcohol syndrome, FAS 
  • ช่องตาสั้น
  • ร่องริมฝีปากบนเรียบ
  • ริมฝีปากบนยาวและบาง
  • หนังคลุมหัวตามาก
  • จมูกแบน
  • ปลายจมูกเชิดขึ้น
     นิโคติน
  • น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
  • เพิมอัตราการตายในวัยทารก
  • สติปัญญาบกพร่อง
  • สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้สนการเข้าสังคม
     7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
     8.สาเหตุอื่น ๆ 
  • อุบัติเหตุ
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรหายไป ซึ่งจะหายไปในช่วงอายุ 1 ปี
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
     1. การซักประวัติ
  • โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
  • การเจ็บป่วยในครอบครัว
  • ประวัติฝากครรภ์
  • ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
  • พัฒนาการที่ผ่านมา
  • การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
  • ปัญหาพฤติกรรม
  • ประวัติอื่น ๆ 
เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
  • ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
  • เด็กมีระดับพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
  • มีข้องบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
  • สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
  • ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
     2. การตรวจร่างกาย
  • ตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไปและการเจริญเติบโต
  • ภาวะตับม้ามโต
  • ผิวหนังระบบประสาทและวัดอบศีรษะด้วยเสมอ
  • ดูลักษณะของเด็กที่ถุกทารุณกรรม (child abuse)
  • ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
     3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

     4. การประเมินพัฒนาการ
  • การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
การประเมินที่ใช้เวชปฏิบัติ

 Denver II เป็นแบบทดสอบพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๖ ปี สำหรับคัดกรองเด็กทั่วไปที่ไม่มีความผิดปกติ ไม่ได้เป็นแบบทดสอบเชาว์ปัญญา (IQ Test) ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นอะไร เช่น เป็นเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (Learning Disability) มีความผิดปกติทางการภาษา (Language disorder) หรือมีปัญหาทางอารมณ์ (Emotional disturbance) การทดสอบพัฒนาการแบบ Denver II นี้ เป็นการเปรียบเทียบความสามารถด้านต่างๆ กับเด็กปกติในวัยเดียวกันเท่านั้น
Denver II ประกอบด้วยข้อทดสอบ ๑๒๕ ข้อ แบ่งเป็น ๔ ด้าน คือ
๑. ด้านสังคมและการช่วยตนเอง หมายถึง การมีความสัมพันธ์และใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นๆ กับการดูแลตนเองในกิจวัตรประจำวัน
๒. ด้านใช้กล้ามเนื้อเล็กและปรับตัว หมายถึง การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา การจัดการกับของชิ้นเล็ก และการแก้ไขปัญหา
๓. ด้านภาษา หมายถึง การได้ยิน ความเข้าใจภาษา และการใช้ภาษา
๔. ด้านใช้กล้ามเนื้อใหญ่ หมายถึง การทรงตัว และการเคลื่อนร่างกาย เช่น การนั่ง การเดิน การกระโดด และการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใหญ่ทั้งหมด
นอกจากนี้หลังการทดสอบยังมีการบันทึกพฤติกรรมระหว่างทดสอบ ๕ ด้าน ซึ่งทำให้ผลการทดสอบเป็นประโยชน์และแม่นยำมากขึ้น ได้แก่
๑. เด็กเป็นเหมือนเช่นทุกวัน ใช่ หรือ ไม่ใช่
๒. ความร่วมมือ ดีมาก พอควร หรือ น้อย
๓. ความสนใจสิ่งแวดล้อม สนใจดี สนใจบ้าง หรือ ไม่สนใจเลย
๔. ความกลัว ไม่กลัว กลัวเล็กน้อย หรือ กลัวมาก
๕. ระยะความสนใจ เหมาะสมกับวัย เบี่ยงเบนความสนใจค่อนข้างง่าย หรือ เบี่ยงเบนความสนใจง่ายมาก
พัฒนาการตามวัยและการทดสอบ
     พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพหรือประสิทธิภาพของการทำหน้าที่ การเฝ้าระวังพฤติกรรมพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ ๖ ปี
     เพื่อจะได้ทราบว่าเด็กมีระดับความสามารถด้านต่างๆ เป็นอย่างไร สมวัยหรือไม่เพื่อจะได้แนะนำบิดามารดา ผู้เลี้ยงดูให้อบรมเลี้ยงดูและจัดสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมกับความสนใจและความสามารถของเด็ก ทำให้เกิดโอกาสเรียนรู้และพัฒนาได้ครบทุกด้านอย่างสมดุลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและสังคม เด็กจะได้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ ในกรณีที่พบว่าเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ จะได้ตรวจวินิจฉัยช่วยเหลือแก้ไขแต่เริ่มแรก
     สำหรับการทดสอบพัฒนาเพื่อคัดกรองอย่างเป็นระบบ (Developmental screening) จะต้องใช้เครื่องมือทดสอบคัดกรองพัฒนาการที่มีมาตรฐาน ผู้ทดสอบจะต้องได้รับการอบรมและผ่านการรับรองว่าเข้าใจเนื้อหาสาระพัฒนาการเด็ก สามารถทดสอบและสังเกตพฤติกรรมของเด็กและแปลผลอย่างถูกต้องตามคู่มือการทดสอบที่เป็นมาตรฐาน ผู้เขียนต้องขอขอบคุณสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้เปิดโอกาสให้ครูได้รับการฝึกอบรมการใช้ DENVER II ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากที่ครูได้นำไปใช้สำรวจพัฒนาการของเด็กได้อย่างรอบคอบและถี่ถ้วน เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้รับการดูแลเอาใจใส่ ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ที่สมวัย ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นไปได้อย่างราบรื่น ส่วนเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัยก็จะได้รับการช่วยเหลือทันท่วงทีอย่างถูกต้องและเหมาะสม หากทุกโรงเรียนได้นำกระบวนการนี้ไปใช้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับตัวเด็กเองและโรงเรียนในที่สุด




ให้เด็กวาดรูปตามแบบที่กำหนด ซึ่งเป็นความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ ตามระดับอายุที่ควรจะเป็น


รูปที่ 1 ....เป็นความสามารถของเด็ก 2 ปี
รูปที่ 2 ....เป็นความสามารถของเด็ก 3 ปี
รูปที่ 3 ....เป็นความสามารถของเด็ก 3 ปีครึ่ง
รูปที่ 4 ....เป็นความสามารถของเด็ก 4 ปี
รูปที่ 5 ....เป็นความสามารถของเด็ก 5 ปี
รูปที่ 6 ....เป็นความสามารถของเด็ก 6 ปี
รูปที่ 7 ....เป็นความสามารถของเด็ก 7 ปี
รูปที่ 8 ....เป็นความสามารถของเด็ก 8 ปี
รูปที่ 9 ....เป็นความสามารถของเด็ก 9 ปี
รูปที่ 10 ...เป็นความสามารถของเด็ก 11 ปี
รูปที่ 11....เป็นความสามารถของเด็ก 12 ปี
วิธีการ
ให้เด็กดูแบบแล้ววาด (ควรขยายขนาดเพิ่มให้จากรูปที่แนบมา) โดยที่เราไม่ได้วาดให้ดู เด้กสามารถวาดซ้ำได้ในแต่ละรูป ให้ผ่านถ้ารูปที่วาด สมบูรณ์ใกล้เคียงกับรูปต้นแบบ
ความสามารถด้านกล้ามเนื้อมือ และการประสานงานของตากับมือ เป็นทักษะที่บ่งชี้ถึงระดับสติปัญญาหรืออายุสมองได้แบบคร่าวๆ
ยกตัวอย่าง...
  • หากลูกของเราอายุจริง 8 ปี แต่สามารถวาดรูปได้ถึงรูปที่ 7 โดยที่รูปที่ 8 เป็นต้นไปวาดไม่ได้หรือไม่สมบูรณ์ แสดงว่าอายุสมองของลูกอยู่ที่ระดับ 7 ปี เป็นต้น

หมายเหตุ..
  • การทดสอบนี้เป็นวิธีคัดกรองแบบหยาบๆเท่านั้น ไม่ได้บอกระดับ IQ ที่แท้จริง เพราะวัดเฉพาะความสามารถของกล้ามเนื้อมือ ดังนั้น ถ้าลูกทำไม่ได้ก็ไม่ต้องตกใจ แต่ลองฝึกฝนลูกเรื่องกล้ามเนื้อมือให้มากขึ้นหรือถ้าลูกมีปัญหาการเรียนหรือพัฒนาการร่วมด้วย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

# หมอไปป์ แฮปปี้คิดส์








ความรู้ที่ได้รับ 
  • เกี่ยวกับโรคและสาเหตุของโรคต่างๆที่เกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องหรือเด็กพิเศษมีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นด้วยสาเหตุอะไรบ้าง และมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร
ประเมินเพื่อนร่วมห้อง
  • เพื่อนตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์สอนสนุกเข้าใจง่าย มีการให้เด็กทำกิจกรรมระหว่างเรียน