วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
( Inclusive Education Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤณ แจ่มถินวัน-เดือน-ปี 9-3-2559
เรียนครั้งที่ 7 เวลาเรียน 08.30.- 12.30 น.
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
8. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotion Disorders)
8. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotion Disorders)
- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ
ไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป
- ปัญหาทางสุขภาพ
และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ตามกลุ่มอาการ
1.ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเชียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก
ชอบโทษผู้อื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติ
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
2. ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน
20 วินาที
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ
รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
-
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่ง ได้
หยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา
มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
-
การถอนตัวหรือล้มเลิก
(Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใน ขี้อาย ขี้กลัว
ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
* ไม่เคยมุ่งมั่นทำอะไรให้สำเร็จ
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤิตกรรมการกิน (Eating Disorder)
- การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
- การปฏิเสธที่จะรับประทาน
- รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
- โรคอ้วน (Obesity)
- ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจาระและปัสสาวะ
(Elimination Disorder)
- ขาดเหตุผลในการคิด
- อาการหลงผิด (Delusion)
- อาการประสาทหลอน (Hallucination)
- พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
* คิดอะไรในหัวเยอะ
สาเหตุ
สาเหตุ
- ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology) เช่น ความผิดปกติทางร่างกาย
- ปัจจัยทางจิตสังคม (Psycho social) เช่น พ่อแม่ทำร้ายร่างกาย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
- มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ
ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม
ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
- เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity
Disorders)
- เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) ADHD
วีดีโอเด็กสมาธิสั้น
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
1.
Inattentiveness สมาธิสั้น
2.
Hyperactivity ซนอยู่ไม่นิ่ง
3.
Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
- ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก
ไม่มีสมาธิ
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
- เด็กเล็กๆ จะเล่นอะไรได้ไม่นาน
เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง
ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity ซนอยู่ไม่นิ่ง
- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
- เคลื่อนไวอยู่ตลอดเวลา
- เหลียวซ้ายแลขวา
- ยุกยิกแกะโน่นเกานี่
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
- นั่งไม่ติดที่
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness หุนหันพลันแล่น
- ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้
มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
- ไม่อยู่ในกติกา
- ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
- พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
- ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน
ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น
โดปามีน (Dopamine) นอร์อิพิเนฟริน
(Norepinephrine)
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ
และการตื่นตัวอยู่ที่สมองส่วนหน้า (Frontal
Cortex)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
- สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี
ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ
ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
*เกิดจากการทำงานของสมอง
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย มี 2 กลุ่มหลัก ๆ
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย มี 2 กลุ่มหลัก ๆ
1. Methylphenidate (MPH) มีชื่อทางการค้าว่า Ritalin
- ริทาลิน แต่ปัจจุบันยาตัวนี้
อย.งดสั่งจากต่างประเทศ แต่จะสั่งยาที่ผลิตในประเทศ (Generic
name)ที่มีราคาถูกกว่า Ritalin เล็กน้อย
และ ใช้ชื่อทางการค้าว่า Methylpenidate เป็นยาเม็ดสีขาว
ขนาดเม็ดละ 10 มิลลิกรัม แพทย์มักใช้ยาตัวนี้เป็นอันดับแรกเพราะออกฤทธิ์เร็ว เห็นผลได้ชัดเจน
และ มีความปลอดภัยสูง เด็กที่มีสมาธิสั้นร้อยละ
75-80 จะตอบสนองดีต่อยาตัวนี้ สมาธิของเด็กจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 1-2 วันที่เริ่มรับประทานยา แต่คุณแม่ที่ลูกเคยใช้ยาตัวแรก หรือ Ritalin มักไม่ค่อยชอบยาปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับยาตัวเก่า
ผลจะต่างกันมาก เพราะเด็กมักจะมีอาการเหมอลอยและรับผิดชอบน้อยกว่าตัวเดิมมาก
บางรายเกิดอาการก้าวร้าว น้ำลายไหล
ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยก้าวร้าวหรือน้ำลายไหลมาก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้น
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะพิจารณาเรื่องนี้และหาวิธีการแก้ไข โดยให้ทางเลือกแก่ผู้ใช้ยาและ ทั้ง สั่งยาตัวเดิมและยา
generic name และ เพิ่มยาระยะยาว โดยให้ยาทั้งหมด "ฟรี" แก่ผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อให้เด็กที่พ่อแม่ยากจนได้มีโอกาสดีขึ้นจนถึงหายได้เหมือนลูกผู้มีฐานะ
นอกจาก
MPH จะช่วยให้สมาธิของเด็กดีขึ้นแล้ว ยังมีผลทำให้อาการซนอยู่ไม่นิ่งลดลง อาการหุนหันพลันแล่นขาดความยั้งคิดก็ลดลงด้วย
การเปรียบเทียบเด็กที่ใช้ยานี้กับเด็กที่ใช้ยาเม็ดหลอกที่ไม่มีตัวยาผสมอยู่
(เรียกยาแบบนี้ว่า placebo) พบว่าเด็กที่ใช้
MPH จะมีอาการดีขึ้นในทุกด้าน ผลการเรียนและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นก็ดีขึ้นด้วย
ขนาดยาที่เริ่มให้ในเด็กทั่วไป คือ 0.3 มก./กก./วัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี แพทย์มักเริ่มให้ 5 มก. ตอนเช้าวันละครั้ง ถ้าไม่มีอาการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงอื่น ๆ ก็เพิ่มขนาดที่ละ 2.5-5 มก. ทุก 2-3 วัน จนได้ผลที่ต้องการ โดยทั่วไปใช้ประมาณ 10-40 มก./วัน (ไม่ควรเกิน 1 มก./กก./วัน)
ขนาดยาที่เริ่มให้ในเด็กทั่วไป คือ 0.3 มก./กก./วัน ในเด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี แพทย์มักเริ่มให้ 5 มก. ตอนเช้าวันละครั้ง ถ้าไม่มีอาการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงอื่น ๆ ก็เพิ่มขนาดที่ละ 2.5-5 มก. ทุก 2-3 วัน จนได้ผลที่ต้องการ โดยทั่วไปใช้ประมาณ 10-40 มก./วัน (ไม่ควรเกิน 1 มก./กก./วัน)
ยานี้ออกฤทธิ์เพียงแต่ 4 ชั่วโมง
ฉะนั้น บางรายที่มีอาการมาก
นอกจากมื้อเช้าแล้ว อาจต้องให้ตอนบ่ายอีก 1 มื้อ เพื่อช่วยให้เด็กมีสมาธิเรียนหนังสือได้ทั้งวัน
ในเด็กที่มีอาการมากและไม่สามารถทำการบ้านในตอนเย็นได้เลย
ก็อาจให้มื้อเย็นเพิ่มอีก 1 มื้อ
แต่จะ ไม่ให้ยานี้แก่เด็กหลัง 4
โมงเย็น ไปแล้ว
เพราะอาจทำให้เด็กนอนไม่หลับ
ผลข้างเคียงที่สำคัญของ MPH คือ ทำให้เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง ปวดหัว คลื่นไส้ ท้องผูก อารมณ์หงุดหงิด แต่อาการเหล่านี้มักหายไปภายในสัปดาห์แรก เด็กบางคนอาจดูซึมเมื่อได้ยา อย่างไรก็ตามการหยุดยาในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์หรือปิดเทอม จะช่วยลดผลข้างเคียงนี้ได้ แต่ถ้าไม่มีผลข้างเคียง แพทย์ที่ชำนาญและเก่งมักให้รับประทานยาต่อเนื่องทุกวันเพราะอาการสมาธิสั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีวันหยุด อาการของเด็กที่ปรากฏขึ้นทุกกรณีควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรเพิ่มลด หรือ งดยาด้วยตนเอง
ผลข้างเคียงที่สำคัญของ MPH คือ ทำให้เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดท้อง ปวดหัว คลื่นไส้ ท้องผูก อารมณ์หงุดหงิด แต่อาการเหล่านี้มักหายไปภายในสัปดาห์แรก เด็กบางคนอาจดูซึมเมื่อได้ยา อย่างไรก็ตามการหยุดยาในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์หรือปิดเทอม จะช่วยลดผลข้างเคียงนี้ได้ แต่ถ้าไม่มีผลข้างเคียง แพทย์ที่ชำนาญและเก่งมักให้รับประทานยาต่อเนื่องทุกวันเพราะอาการสมาธิสั้นเกิดขึ้นตลอดเวลาไม่มีวันหยุด อาการของเด็กที่ปรากฏขึ้นทุกกรณีควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรเพิ่มลด หรือ งดยาด้วยตนเอง
2. Atomoxetine (Strattera) หรือ Clonidine การรักษาด้วยยาสมาธิสั้นควรจะเริ่มใช้ในเด็กอายุ
6 ปีขึ้นไป ในกรณีเด็กเล็ก
แพทย์อาจจะพิจารณาใช้ยากลุ่มอื่นเพื่อช่วยในการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์ทดแทนข้อดีของยานี้ คือ ไม่ใช่ยาในกลุ่มกระตุ้นระบบประสาท
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
- หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
- เรียกร้องความสนใจ
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
- ขึ้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
- ฝันกลางวัน
- พูดเพ้อเจ้อ
9. เด็กพิการซ้อน
(Children with Multiple Handicaps)
วีดีโอแนวทางการพัฒนาเด็กพัฒนาการบกพร่องซ้ำซ้อน
- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากว่าหนึ่งอย่าง
เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
ลักษณะของเด็กพิการซ้อน
เด็กที่มีปัญหาพิการซ้อนอาจแสดงลักษณะได้หลากหลายรูปแบบ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะความซ้ำซ้อน (Combination) ความรุนแรงของความพิการ (Severity of Disabilities) รวมทั้งปัจจัยเรื่องอายุด้วย
อย่างไรก็ตาม ลักษณะปัญหาที่พบได้บ่อย มักมีลักษณะดังนี้
ปัญหาด้านจิตใจ
- มีความรู้สึกเหมือนถูกขับไล่ออกจากสังคม
- ปลีกตัวจากสังคม
- กลัว โกรธ
และไม่พอใจเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันหรือเมื่อถูกบังคับ
- ทำร้ายตัวเอง
ปัญหาด้านพฤติกรรม
- ยังคงแสดงพฤติกรรมเหมือนเด็กแม้จะโตขึ้น
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- มีความยากลำบากในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- มีทักษะในการดูแลและพึ่งตัวเองที่จำกัด
- มีความผิดปกติของร่างกาย (Medical problems) อื่นๆ
ร่วมด้วย เช่น อาการชัก (Seizures) การสูญเสียการรับรู้ทางประสาทสัมผัส
(Sensory Loss) ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (hydrocephalus)
และกระดูกสันหลังโค้ง (Scoliosis)
- เชื่องช้าและงุ่มง่าม
- มีความบกพร่องในการกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ
ปัญหาทางด้านการเรียนรู้
- มีปัญหาในการคัดลายมือหรือเขียนหนังสืออันเนื่องมาจากความบกพร่องของกล้ามเนื้อมัดเล็ก
(Fine-motor deficits) และปัญหาความไม่สัมพันธ์ของมือและตา
- มีข้อจำกัดในการพูดและสื่อสาร
- ลืมทักษะบางอย่างเมื่อไม่ได้ใช้
- มีปัญหาในการเข้าใจ รับมือ
หรือนำทักษะที่มีมาปรับใช้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป
- ขาดความคิดระดับสูง (High level thinking) ส่งผลให้มีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
- มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ต่ำ
- มีระดับจินตนาการและความเข้าใจความคิดที่เป็นนามธรรมอย่างจำกัด
- มีผลการสอบระดับต่ำ
- ไม่สามารถระบุตำแหน่งของแหล่งเกิดเสียงได้
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
- มีปัญหาในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของ
สาเหตุความพิการซ้อน
มักเกิดจากความผิดปกติของสมอง
ซึ่งส่งผลต่อกิจกรรมของระบบประสาทบางส่วน เช่น สติปัญญา (Intelligence) และความไวของประสาทสัมผัส (Sensory
sensitivity) แม้ว่าในเด็กบางรายจะไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้
อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยรายที่สามารถระบุสาเหตุได้
มักพบว่าอาการพิการซ้อนเกิดจากปัจจัยทางชีวเคมีในช่วงก่อนกำเนิด (Prenatal
Biomedical factors) หรือจากปัจจัยทางพันธุกรรม อันเนื่องมาจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม
นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ อาจเชื่อมโยงกับโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Genetic
Metabolic Disorders) การทำหน้าที่ผิดปกติของอวัยวะในร่างกายในการสร้างเอนไซม์
(Dysfunction in production of enzymes) ซึ่งนำไปสู่การสะสมของสารพิษในสมอง
และส่งผลให้สมองผิดปกติ (Brain Malformation)
สาเหตุและสัดส่วนของเด็กพิการซ้อน
สามารถจำแนกได้ดังนี้
- ร้อยละ 30
ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
- ร้อยละ 15
เกิดจากปัจจัยในช่วงคลอด
ซึ่งความบาดเจ็บจากการคลอดก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ
- ร้อยละ 5
เกิดจากปัจจัยในช่วงหลังกำเนิด เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
โรคสมองอักเสบ (Encephalitis) ภาวะหัวใจหยุดเต้น
(Cardiac arrest) และจากอุบัติเหตุ เช่น
ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
- ร้อยละ 50
เกิดจากปัจจัยในช่วงก่อนเกิดกำเนิด ได้แก่ ความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์
โรคหลอดเลือดสมองในตัวอ่อน รวมถึงโรคพยาธิสภาพในตัวอ่อน (Embryopathy)
ซึ่งได้แก่ เชื้อไวรัสไซโตเมกาโล และเชื้อไวรัสเอดส์ เป็นต้น
ทักษะ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการตอบคำถาม
การประยุกต์ใช้
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นและเด็กพิการซ้ำซ้อนว่ามีลักษณะอาการอย่างไรและจะจัดกิจกรรมและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับตัวเด็ก
การประเมิน
อาจารย์สอนสนุก มักมีเนื้อหาความรู้มาเพิ่มเติมเสมอ อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น